เพลงพื้นบ้าน
ประกอบการเรียนการสอนภาษาไทยและแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพลงอีแซวคำอักษรนำ
คำร้อง
: ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง :
เพลงหมากัด
โอ้มาเถิดหนากระแม่มา โอ้มาเถิดหนากระแม่มา
เร็วเร็วอย่าช้า มาซิแม่หน้านวลใย
คนไหนนึกสนุกสนุกก็ลุกขยับขยับ ขยับขยับขยับเข้ามาไวไว
มาฟังฉันเล่าถึงอักษรนำ มีอยู่หลายคำที่ควรใส่ใจ
มี จ มี ข มี ส มี ต แถมมี
ฉ ถ ผ นำตัวอื่นได้
ต้องออกเสียงอะที่ตรงตัวหน้า ส่วนตัวที่ตามมาอ่านเหมือน
ห นำไว้
เช่น ยานอะไรวิ่งเร็วยิ่งยวด มันก็คือ...บนฝากฟ้าไกล (จรวด)
ก่อนกินยาน้ำอย่าลืมเสียเล่า เราจะต้อง...ขวดทุกครั้งไป (เขย่า)
นางกำนัลหน้าตาขำคม เขาเรียกนาง...หรือว่านางใน (สนม)
สองฝั่งน้ำริมลำแม่ปิง เขาเรียกว่า...น้ำกัดเซาะได้ (ตลิ่ง)
รถชนฉันหลังมันขัดยอก แขนขา...ใส่ยาเร็วไว (สร้อย) (ถลอก)
ชายพม่ากายาสูงโย่ง เขาชอบนุ่ง...คงโล่งถึงใจ (โสร่ง)
โอ้มาเถิดหนากระแม่มา (ซ้ำ) ร้องอีแซวดีกว่ารับรองสนุกกว่าใคร
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกลักษณะของคำอักษรนำได้
-
บอกพยัญชนะที่ใช้เป็นอักษรนำได้
-
ศึกษาค้นคว้าคำที่มีอักษรนำจากแหล่งเรียนรู้ได้หลากหลาย
ขั้นตอนการใช้ : ใช้สรุป/ประเมินผลบทเรียน
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๔ – ๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
ทบทวนฉันทลักษณ์และท่วงทำนองการร้องเพลงอีแซว
ฝึกทักษะการปรบมือ
การร้องรับเป็นลูกคู่
-
ทบทวนคุณลักษณะของคำอักษรนำเพื่อเน้นย้ำความเข้าใจ
-
ฟังเพลงอีแซว “คำอักษรนำ”
ปรบมือให้เข้าจังหวะและแข่งขันกันตอบคำตอบที่เพลงเว้นจังหวะเงียบไว้ใครตอบก่อนบันทึกคะแนนไว้
จนจบเพลง
-
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ของตน
เพลง “อักษรย่อ”
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง :
เพลงอีแซว
โอ้มาเถิดหนากระแม่มา
(ซ้ำ) เร็วเร็วอบ่าช้ามาซิแม่หน้านวลใย
คนไหนนึกสนุกสนุกก็ลุกขยับขยับ ขยับ ขยับ
ขยับเข้ามาไวไว
พูดเรื่องคำไทยที่ใช้อักษรย่อ มีมากมายจิงหนอแต่พอจำได้
คำย่อต้องเป็นคำที่คนรู้จัก ย่อแล้วต้องตระหนังนำไปเขียนได้
เวลาเขียนเล่าย่อเวลาพูดต่อให้ครบ จะถือว่าเจนจบในภาษาไทย
เช่น ร จุด ร จุด เวลาพูดไม่ใช่เขียน ต้องพูดว่า
...(โรงเรียน) ที่เพียรหมั่นไป
คำย่อ น.ส. จะขอพูดบอกกล่าว คือคำว่า...(นางสาว) ยังโสดทรามวัย
คำว่า ด.ญ. ขอบอกจริงจริง ย่อมาจาก...(เด็กหญิง) น่ารักสมวัย
อ. อำเภอ ต. ตำบล ถ.
ก็คือถนนรถวนวิ่งไว
โอ้มาเถิดหนากระไรแม่มา (ซ้ำ) ใช้คำย่อกันดีกว่าง่ายหนักหนาเด็กไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้
- บอกความหมายและประโยชน์ของอักษรย่อได้
-
บอกหลักการย่อได้
-
อ่านอักษรย่อและบอกความหมายของอักษรย่อได้
ขั้นตอนการใช้ : นำเข้าสู่บทเรียน
สรุปบทเรียน
ระดับชั้นที่ใช้ :
ป.๔ -๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงความหมายและประโยชน์ของอักษรย่อตามความรู้เดิมของนักเรียน
-
ร่วมกันร้องเพลง “อักษรย่อ”
-
ร่วมกันวิเคราะห์ความหมายและประโยชน์ของอักษรย่อจากเนื้อเพลงสรุปเป็นหลักการจำ
-
ค้นคว้าอักษรย่อจากแหล่งเรียนรู้ที่สนใจ รวบรวมเขียนเป็นรายงานส่งครู
-
นำเสนอผงงานหน้าชั้น ร่วมกันวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
เจ้าของผลงานนำผลงานไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
-
ร่วมกันจัดนิทรรศการผลงานของทุกคนไว้ในห้องเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
เพลง “คำที่มีการันต์”
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง :
ลำตัด
พยัญชนะไทย
ทัณฑฆาตใส่ไว้ เสียงหายไปทันตา
เรียกว่าคำการันต์ เรียกว่าคำการันต์ ออกเสียงทุกวันสุขสันเฮฮา
(ซ้ำ)
อันคำไทยเรานี้มีมาแต่ก่อนเก่า บางทีก็นำเอาคำชาติอื่นเข้ามาพัฒนา
คำบาลี สันสฤต ภาษาอังกฤษก็ใช้ พยัญชนะเขามากมายอ่านวุ่นวายหนักหนา
นำทัณฑฆาตใส่ลงตรงตัวที่ไม่ออกเสียง วางรูปแบบให้เอียงเอียงเฉียงไปทางด้านขวา
ก็อ่านง่ายใช้ดีมีเสียงน่าฟัง เช่น
น้ำมนต์ หอยสังข์
ลองสังเกตดูอีกที...ตัวการันต์มีอีกไหม...หากว่าใครหาได้...มีรางวัลใหญ่ให้เรยนา...
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกลักษณะและที่มาของคำที่มีตัวการรันต์ได้
-
บอกวิธีอ่านคำที่มีตัวการันต์ได้และสามารถอ่านได้ถูกต้อง
-
ศึกษาค้นคว้าคำที่มีตัวการันต์จากแหล่งเรียนรู้ที่สนใจ
ขั้นตอนการใช้ : ใช้ดำเนินกิจกรรม
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๔ – ๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
นักเรียนร่วมกันบอกวิธีการอ่านคำที่มีตัวการันต์เพื่อเป็นการทบทวน
โดยใช้แผ่นบัตรงานซ่อนคำ
-
ร่วมกันร้องเพลง “คำที่มีตัวการันต์” สรุปความหมายจากเนื้อเพลง
-
แข่งขันกันตอบ / ค้นหาคำที่มีตัวการันต์ให้ได้มากที่สุด
บันทึกไว้บนกระดานดำ
-
ร่วมกันแยกประเภทคำที่มีตัวการันต์ ๑ ตัว ๒ ตัว สรุปเป็นองค์ความรู้
-
จัดทำรายงาน โครงงานเกี่ยวกับคำที่มีตัวการันต์
เพลงปริศนาพฤกษาชาติ
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง :
เพลงเกี่ยวข้าว
เอ่อ
เอ่อ เอิ้ง เออ ชะเอิง
เอิง เออ ชะ เอิง เอิง เอ้ย (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ถ้อยคำร่ำไข มาว่ากันในกลอนลวย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
พูดถึงผลไม้ ที่ปลูกกันด้วยทุกภาคด้วย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ดินอะไรก็ปลูกได ดินร่วนดินทรายหรือดินริมห้วย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ต้นของมันใช้ในงานศพ ถ้าใครเตยพบต้องบอกว่าสวย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ใบของมันเอาไว้ห่อของ เขาเรียกใบตองรู้ไว้ด้วย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ก้านของมันเล่นได้เข้าท่า จะทำเป็นหรืปืนก็สวย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ดอกของมันก็ดีน่าชม แกงเลียงเพิ่มนมให้แม่ลูกอ่อนด้วน(เฮ้เอ้า
เฮ้ เฮ้)
ลูกของมันก็ใช้ทำต้มแกง งานบวชงานแต่งงานขึ้นศาลด้วย(เฮ้
เอ้า เฮ้ เฮ้)
ถ้าใครเป็นโรคท้องผูก (ซ้ำ) กินซักวันละลูกรับรองหายป่วย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ครูชักเหนื่อยแล้วละ บอกได้หรือยังจ้ะผลไม้เสียงอวย
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ถ้าคิดออกบอกได้ บอกมาเร็วไวว่ามันคือ...
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ไม่ต้องรอถูกหวย (ซ้ำ) ถ้าใครอยากรวยเรียนเรื่องกล้วยเอย
เอ่อ เอ๊ย กล้วยเอย ไม่ต้องรอถูกหวย ถ้าใครอยากรวยเรียนเรื่องกล้วยเอย
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกประโยชน์ของกล้วยได้
-
ค้นคว้าเรื่องกล้วยจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติมได้
-
สร้างสรรค์ผลงานนำเสนอเรื่องกล้วย
ขั้นตอนการใช้ :
นำเข้าสู่บทเรียน
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๖
แนวการจัดกิจกรรม
ร่วมกันอภิปรายและสืบค้นความรู้แนวคำถาม
-
ต้นกล้วยมีลักษณะอย่างไร
-
ต้นกล้วยชอบขึ้นในภูมิประเทศแบบใด
-
ต้นกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
-
อาหารที่ทำจากกล้วยหรือมีกล้วยเป็นส่วนประกอบมีอะไรบ้าง
-
หากอยากรู้เรื่องกล้วยเพิ่มเติมจะศึกษาได้ที่ใด
-
จะนำเสนอผลการศึกษาเรื่องกล้วยอย่างไรให้น่าสนใจและสร้างสรรค์
เพลงคำนาม
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง :
เพลงอีแซว
ส่งเสียงเจื้อยแจ้วมาแล้วคำนาม
ใครเห็นต่างถามคำนามเป็นยังไง
คำนามใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของ
หากจะแบ่งนะน้องได้ห้าประเภทใหญ่ใหญ่
หนึ่งคำนามทั่วไปใช้เรียกอะไรกว้างกว้าง
เช่น พระ ผม นม ข้าง วัด บ้าน ยาง และ
ไร
ถ้าเน้นชัดใจความเขาเรียกว่า นามเฉพาะ
เช่น พระขุนแผน วัดห้วยเกาะ
อีกทั้งยางอะไหล่
ลักษณะนามเน้นย้ำรูปร่าง
เช่น วงแหวน เชือกช้าง รองเท้าข้าง พลูใบ
ถ้าสมุหนามเน้นความเป็นหมวดหมู่
เช่น โขลง พรรค กองรู้
ว่ามันมากเหลือหลาย
ส่วนอาการนามมีการ,ความนำหน้า
เช่น ความดี ความบ้า การศึกษา การให้
ลองฝึกสังเกตความพิเศษเหล่านี้
คำนามแสนดีมีมากเหลือใจ...
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกความหมายและประโยชน์ของคำนามได้
-
ยกตัวอย่าง / แยกประเภทคำนามได้
-
สรุปความรู้เรื่องคำนามเป็นชิ้นงานได้
ขั้นตอนการใช้ : ใช้ดำเนินกิจกรรม
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๔ – ๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
เล่นปริศนาคำทายง่ายๆ เกี่ยวกับคำนาม สรุปข้อคิดที่ได้จากคำตอบของปริศนาเหล่านั้น
ซึ่งได้แก่ คำนาม
-
บอก / อธิบาย ความหมายของคำนามตามประสบการณ์ที่มี จดบันทึกคำตอบไว้
-
ร่วมกันร้องเพลง “คำนาม” จนนักเรียนร้องได้คล่อง
-
วิเคราะห์ลักษณะคำนามจากเนื้อหาของเพลง
จดบันทึกไว้แล้วเปรียบเทียบกับความรู้จากประสบการณ์เดิมที่มี
-
ศึกษาค้นคว้าเรื่องคำนามจากแหล่งเรียนรู้ที่สนใจ
-
สรุปเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับคำนามสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานตามความถนัด และความสนใจ
-
นำเสนอผลงานและจัดนิทรรศการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
เพลงคำสรรพนาม
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง :
เพลงแหล่
พูดถึงคำสรรพนาม ใช้ทุกยามสังเกตไหม
ใช้แทนนามนั่นไง นามนาวไปใช้แทนซี
สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง แทนเราซึ่งผู้พูดนี้
ผม ฉัน รู้กันดี ดิฉัน
มี อาตมา
สรรพนามบุรุษที่สอง แทนคนต้องพูดด้วยหนา
เช่น เธอ คุณ ท่าน นา ใต้เท้า
ขา พระองค์ มี
สรรพนามบุรุษที่สาม ใช้แทนนามพูดถึงซี
เธอ มัน เขา ท่าน นี้ ใช้ทุกทีดีจังเลย
สรรพนามชี้ระยะ นั่น
โน่น นะ อย่าเฉยเมย
สรรพนามใช้ถามเคย ใช้กันเลย
ใคร อะไร
สรรพนามไม่เจาะจง คำถามคงไม่ตอบไป
เช่น ใคร ก็ชอบใจ ถ้าหากได้ของรางวัล
สรรพนามบอกความซ้ำ ขอเน้นย้ำ
ต่าง บ้าง กัน
เช่น สุนัข มักกัดกัน เธอกับฉันต่างทำงาน
ใช้เถิดเกิดทักษะ ฝึกเขียนนะจะเชียวชาญ
คำไทยใช้มานาน แสนชื่นบานเรียนคำไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกความหมายและประโยชน์ของคำสรรพนามได้
-
บอกประเภทและวิธีใช้คำสรรพนามแต่ละประเภทได้
-
แต่งประโยคจากคำสรรพนามได้
ขั้นตอนการใช้ : ใช้สรุปบทเรียน
แนวการจัดกิจกรรม
-
เล่านิทานที่ไม่ใช้คำสรรพนามเลยให้นักเรียนฟัง
สรุปให้เห็นความยุ่งยากในการไม่ใช้สรรพนาม
-
ศึกษาเรียนรู้คำสรรพนามจากแหล่งเรียนรู้ที่สนใจ สรุปเป็นความหมาย ประโยชน์
ประเภท และวิธีใช้คำสรรพนามเหล่านั้น
-
ร่วมกันร้องเพลง “คำสรรพนาม”
-
นำคำสรรรพนามที่มีในบทเพลงมาแต่งประโยคโดยมุ่งเน้นความถูกต้องของชนิดคำ
เพลงคำกริยา
คำร้อง : ศรีอัมพร
ประทุมนันท์ ทำนอง
: เพลงเกี่ยวข้อง
เอ่อ
เอ่อ เอิ้ง เออ ชะ เอิง เอิง เออ ชะเอิง เอิง เอ้ย (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ถ้อยคำร่ำไข มาว่ากันในกลอนลา (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
คำแสดงสภาพอาการ ของคำนามนั้นคือคำกริยา (เฮ้ เอ้า เฮ้
เฮ้)
แบ่งเป็นสี่ประเภทใหญ่ใหญ่ มีกรรมตามได้สกรรมกริยา (เฮ้ เอ้า เฮ้
เฮ้)
เช่ย กัด ต่อย สอย สาบ ใส่ หยิบ จิบ หาย รับ ปราบ อาสา (เฮ้ เอ้า
เฮ้ เฮ้)
ต้องมีกรรมต่อท้าย ว่ากัดอะไรหาบของใดมา (เฮ้ เอ้า เฮ้
เฮ้)
อีกประเภทนี้ไม่ตองมีกรรม เขาเรียกว่าคำอกรรมกริยา (เฮ้ เอ้า
เฮ้ เฮ้)
เช่น นั่ง นอน เดิน ยืน ตาย ลง ตรง ขึ้น สะอื้น ผวา (เฮ้ เอ้า เฮ้
เฮ้)
ไม่ต้องมีกรรมมาเติมต่อ ความหมายก็พอเข้าใจได้หนา (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
เท่า เป็น คือ คล้าย เหมือน ขอเน้นย้ำเตืออนว่าเป็นคำกริยา
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
ประเภทอาศัยส่วนเติมเต็ม เช่น ปากเท่าเข็ม เค็มเหมือนน้ำปลา
(เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)
อาจ แล้ว คง จะ จำไว้นะจ้ะคำช่วยกริยา (เฮ้
เอ้า เฮ้ เฮ้)
เช่น เขาอาจตาย พ่อไปแล้วไง พี่คงไม่มา (เฮ้
เอ้า เฮ้ เฮ้)
ฝึกใช้เถิดหนา (ซ้ำ) อันคำกริยาไม่ยากหรอกเอย เอ่อ
เอ๊ย หรอกเอย
ฝึกใช้เถิดหนา อันคำกริยาไม่ยากหรอกเอย
ฝึกใช้เถิดหนา อันคำกริยาไม่ยากหรอกเอย
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกความหมายและประโยชน์ของคำกริยาได้
-
แต่งประโยคโดยใช้คำกริยาประเภทต่างๆ ได้ถูกต้อง
-
สรุปองค์ความรู้เรื่องกริยาได้
ขั้นตอนการใช้ : สรุปบทเรียน
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๔ – ๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
เล่นเกม “ท่าทางดีชี้ความหมาย” สรุปข้อคิดที่ได้จากการเล่นเกม
เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของคำกริยา
-
บอกประสบการณเดิมกี่ยวกับคำกริยา
-
ศึกษาเรียนรู้เรื่องคำกริยาจากบทเพลงคำกริยา
-
ร่วมร้องเล่นแสดงท่าประกอบเพลงตามความเหมาะสม
-
ทำแผนที่ความคิดสรุปความรู้เรื่องคำกริยา
-
แต่งประโยคจากคำกริยาที่กำหนดให้
เพลงคำวิเศษณ์
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง : ลำตัด
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง : ลำตัด
ย ค คำ ใช้อยู่เช้าค่ำ ขยายความเข้าใจ
(ซ้ำ)
คำใดคือคำนั้น (เอ๊ย)
อ๋อคำวิเศษณ์ไงท่าน มาใช้กันไวไว
พูดถึงคำวิเศษณ์ มีหลักสังเกตให้รู้ไว้
คำวิเศษณ์จะเข้าคู่ กับคำที่อยู่ใกล้ใกล้
ขยายนาม สรรพนาม ขยายคำกริยา
ขยายวิเศษณ์ก็เข้าท่า ลองดูว่าจะใช้ยังไง
เช่น บ้านสวยหลังนี้ ฉันเองแหละที่เป็นเจ้าของ
ตั้งเด่นอยู่ริมคลอง น้องมองว่าสวยงามไหม
ฝึกใช้ให้ชำนาญ จะเชี่ยวชาญเรื่องวิเศษณ์
ขยายความได้เด็ดเด็ด ถือเป็นเคล็ดของชาวไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกความหมาย ประโยชน์และประเภทของคำวิเศษณ์ได้
-
สรุปความรู้เรื่องคำวิเศษณ์เป็นชิ้นงานได้
-
นำคำวิเศษณ์ที่กำหนดให้มาสร้างสรรค์งานเขียนตามความถนัดและความสนใจได้
ขั้นตอนการใช้ : ประเมินผลบทเรียน
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๔ – ๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
ทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับคำวิเศษณ์
-
สรุปองค์ความรู้ร่วมกัน
-
แข่งขันกันหาคำวิเศษณ์ให้ได้มากที่สุด
เพลงคำบุพบท
คำร้อง : ศรีอัมพร ประทุมนันท์ ทำนอง : ลิเก
ขอเชิญหนูหนูทั้งหลาย ทั้งหญิงและชายทุกท่าน
มาเรียนคำไทยกัน บุพบทนั้นรู้ไหม
เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง ถิ่นที่แสดงของนาม
เช่น ใน นอก บน ตาม ในระหว่าง ย้ำว่าใช่
ต้มยำกุ้งอยู่ในตู้ ฉันตอบโดยไม่รู้ความ
ฉันพูดตามจริงนะนงราม ในระหว่างนี้ห้ามแก้ไข
ฝึกใช้ให้คล่องจะร้องว่ายอด เป็นไทยต้องไม่บอกภาษาไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
บอกความหมาย ประโยชน์ ของคำบุพบทได้
-
จำแนกคำบุพบทออกจากคำชนิดอื่นได้
-
นำคำบุพบทไปสร้างสรรค์ผลงานได้
ขั้นตอนการใช้ : ใช้นำเข้าสู่บทเรียน
ระดับชั้นที่ใช้ : ป.๕ – ๖
แนวการจัดกิจกรรม
-
นักเรียนร่วมกันร้องเพลง “คำบุพบท”
-
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของเนื้อเพลง
-
ร่วมกันวิเคราะห์ลักษณะประโยชน์และวิธีใช้คำบุพบทในรูปแผนผังความคิด
บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด
ศรีอัมพร ประทุมนันท์
ครูชำนาญการพิเศษ
โดรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
เขต ๑ กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นสื่อที่น่าสนใจ เหมาะสมสำหรับเด็ก ครับผม
ตอบลบเนื้อหาสาระดีมาก
ตอบลบโห เอาไปสอนนักเรียนได้เลยนะค่ะแบบนี้ สุดยอดๆ
ตอบลบสาระดีๆ
ตอบลบ